ผู้รับเหมาก่อสร้าง
ราเป็นมากกว่าบริษัทรับออกแบบก่อสร้างและรีโนเวทตกแต่ง เพราะนอกจากเสนองานออกแบบที่มีคุณภาพให้แก่ท่านแล้ว เรายังให้ความรู้ในการก่อสร้างเบื้องต้นให้แก่ท่านด้วยด้วย เพราะความรู้ที่ถูกต้องนั้น จะช่วยให้ท่านรู้จริง รู้ทัน
เทคนิการเลือกผู้รับเหมา มีแนวทางอย่างไรบ้างเลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ไม่โดยนทิ้งงาน
เมื่อถึงตอนนี้ คุณคงพอจะทราบแล้วว่า สาระสำคัญในการทำสัญญาว่าจ้างในการสร้างบ้าน หรือต่อเติมอาคารนี้คืออะไร และใช้บังคับอย่างไรกับใครบ้างดังนั้นต่อไปให้คุณพิจารณาถึงเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่คุณและผู้รับเหมาต้อง
เตรียมพร้อมในการทำสัญญาว่าจ้างนี้
- กรณีเป็นตัวแทนมาทำสัญญาแทน ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือตัวแทนผู้มีอำนาจในการทําสัญญาของนิติบุคคล คุณจะต้องตรวจเอกสารให้พร้อม ดังนี้
1.หนังสือมอบอำนาจแต่งตั้งตัวแทนให้กระทำการแทน จะต้องระบุลงไปในช่อง “เป็นผู้มอบอำนาจให้ทำสัญญาจ้างเหมาสร้างบ้าน และต่อเติมอาคารกับ(ระบุชื่อผู้ว่าจ้าง) แทนข้าพเจ้า” และในหนังสือมอบอำนาจนี้ จะต้องมีลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจด้วยเป็นสำคัญ
2. ในกรณีที่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง มีสถานะเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีตราประทับของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยทุกกรณี อีกทั้งจะต้องมีใบรับรองจากสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้นจดทะเบียน เพื่อยืนยันสถานะของนิติบุคคลในการทำธุรกิจ และหนังสือรับรองนั้น จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือรับรองนั้น
3 สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ผู้รับเหมา)
4. สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ตัวแทน)
5 สำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งของผู้รับเหมาและตัวแทนที่กระทำการแทนในสัญญา
ในกรณีการมอบอำนาจนี้ คุณจะต้องตรวจสอบสำเนาเอกสารทั้งหมดให้ดีว่า ลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ (ผู้รับเหมา) ในการเซ็นรับรองสำเนาเอกสารหลัก าฐานต่างๆ ถูกต้องตรงกันกับในหนังสือมอบอำนาจหรือไม่ หากไม่ตรงหรือมีเหตุให้มีข้อสงสัยใน “ความเหมือน” คุณอย่าพึ่งเซ็นสัญญาว่าจ้างเด็ดขาด
- กรณีผู้รับเหมาที่เป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่เป็นนิติบุคคลตาม
กฎหมาย ผู้ที่ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างและต่อเติมอาคาร จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจในบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดเท่านั้น เช่น
1. บริษัทจำกัด ผู้ลงนามในสัญญาจะต้องดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการในบริษัทจำกัด โดยจะต้องตรวจสอบจากหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่า ผู้ที่ลงนามในสัญญาเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่และหากกรรมการผู้จัดการเป็นผู้ลงนาม จะต้องมีตราประทับของบริษัทด้วยทุกกรณี อีกทั้งจะต้องมีใบรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่บริษัทนั้นจดทะเบียน เพื่อยืนยันสถานะของนิติบุคคลในการทำธุรกิจ และหนังสือรับรองนั้น จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้ที่ลงนามในสัญญาจะต้องดำรงตำแหน่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น โดยจะต้องตรวจสอบจากหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่า ผู้ที่ลงนามในสัญญาเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ และหากหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ลงนาม จะต้องมีตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยทุกกรณี อีกทั้งจะต้องมีใบรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ห้างหุ้นส่วนนั้นจดทะเบียน เพื่อยืนยันสถานะของนิติบุคคลในการทำธุรกิจ และหนังสือรับรองนั้น จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือน
เอกสารหลักฐานของผู้ว่าจ้าง (เจ้าของบ้าน)
1. สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง
2. สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้ว่าจ้าง
3.สําเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านที่เป็นพื้นที่ในการก่อสร้าง
เอกสารหลักฐานของผู้รับจ้าง (ผู้รับเหมา)
1.สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับจ้าง
2.สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน (ในกรณีที่ผู้รับเหมาเป็นบุคคลธรรมดา)
3.สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้รับจ้าง
4.สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านของผู้ค้ำประกัน (ในกรณีที่ผู้รับเหมาเป็นบุคคลธรรมดา)
5.สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล(ในกรณีที่ผู้รับเหมาเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด (บจ.) หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.
6. สำเนาหนังสือรับรองสถานะของนิติบุคคลในการทำธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 1 เดือน(ในกรณีที่ผู้รับเหมาเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด (บจ.) หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)
ภาพจาก : freepik
–ผลงานออกแบบคลินิกเสริมความงาม
(สนใจติดต่อ)
- นัดดูหน้างานได้ที่ 095-864-6299
- Email : mr_sarut@hotmail.com